วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555



จิตวิทยาการเรียนการสอน


       ความหมายของวิชา “จิตวิทยา” มีผู้ให้ความหมายไว้มากมายแต่ในที่นี้ขอยกตัวอย่างพอเป็นสังเขปดังนี้คือจิตวิทยา  มาจากคำในภาษาอังกฤษว่า Psychology ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษากรีก  Psyche หมายถึง จิตวิญญาณ (Mind , Soul) กับคำว่า Logos หมายถึง ศาสตร์ วิชา วิทยาการ (Science , Study) ไซคี  ( Psyche) เป็นชื่อเทพธิดาผู้เลอโฉมในนิยายปรัมปราของกรีก ได้อภิเษกกับกามเทพชื่อ (Cupid)  ทั้งสองรักกันมานานไม่เคยแยกจากกัน ชาวกรีกจึงเห็นว่า Psyche เป็นวิญญาณนั่นเอง แต่สำหรับ Cupid นั้นถือว่าเป็นร่างกายและทั้งวิญญาณและร่างกายต้องอยู่เป็นคู่กันเสมอ ไม่อาจจะพรากจากกันได้


วิธีการศึกษาทางจิตวิทยา

     จิตวิทยานั้นได้รับการยอมรับว่าเป็นวิทยาศาสตร์ทางพฤติกรรมหรือที่เรียกกัน ว่า พฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งในทางวิทยาศาสตร์ ด้วยเหตุผลที่จิตวิทยานั้นได้นำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อค้นคว้าหา คำตอบ
เกี่ยวกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นทั้งหลาย ซึ่งวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่กล่าวมานั้น ประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่

๑. ตั้งปัญหา (Formulating Problem)
เป็นขั้นตอนที่จะต้องกำหนดปัญหาที่จะศึกษาค้นคว้าอย่างชัดเจนว่าต้องการค้นคว้าศึกษาหาคำตอบในเรื่องใด นั่นคืออะไรที่ทำให้เราเกิดความสงสัยใคร่รู้นั่นเอง

๒. ตั้งสมมติฐาน (Stating Hypothesis)
หลังจากที่ได้กำหนดปัญหาที่ชัดเจนแล้ว ผู้ศึกษาควรคาดคะเนผลที่ควรจะเกิดขึ้นล่วงหน้าว่าจะเป็นอย่างไร  โดยอาจอาศัยทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาสนับสนุน แต่ไม่ใช่การเดาสุ่มอย่างไม่มีหลักเกณฑ์ การตั้งสมมติฐานเปรียบเสมือนกับแผนที่ในการเดินทางสู่เป้าหมายได้อย่างรวด เร็วและใกล้เคียงกับสิ่งที่เป็นจริงมากยิ่งขึ้น

๓. รวบรวมข้อมูล (Collecting Data)
ทั้งนี้ทฤษฎีบางอย่างอาจมีข้อจำกัดหรือเบี่ยงเบนตามสภาพแวดล้อมหรือสาเหตุ ที่ซ้อนเร้นที่ผู้ศึกษาไม่ทราบ ดังนั้นหลังจากการตั้งสมมติฐานแล้ว 
ผู้ศึกษาจะต้องทำการแสวงหาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ มาเพื่อสนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้ อาจทำได้หลายวิธีเช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การใช้แบบทดสอบต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมดขึ้นตอนนี้ถือว่ามีความสำคัญมากที่สุด  เนื่องจากผลวิเคราะห์ที่ออกมามีความถูกต้องมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้วิธีการในการเก็บรวบรวมข้อมูล




วิธีการรวบรวมข้อมูลที่นิยมใช้ในทางจิตวิทยานั้น สามารถจำแนกออกได้ ดังนี้

๑) วิธีการสังเกต (Observation Method)
เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการเฝ้าดูพฤติกรรมของบุคคลในสถานการณ์จริง อย่างมีจุดมุ่งหมาย และทำการบันทึกพฤติกรรมที่แสดงออกมาอย่างตรงไปตรงมา ไม่มีอคติ และอารมณ์ส่วนตัวโดยเด็ดขาด การสังเกตสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
- การสังเกตอย่างมีแบบแผน (Formal Observation) นั่นคือ การสังเกตที่มีการเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า มีการวางแผน กำหนดเวลา สถานการณ์ สถานที่ พฤติกรรม และบุคคลที่จะสังเกตไว้อย่างครบถ้วน
- การสังเกตอย่างไม่มีแบบแผน (Informal Observation) เป็นการสังเกตอย่างกระทันหันทันทีทันใด ไม่มีการเตรียมตัวล่วงหน้า แต่อย่างไรก็ตาม ผู้สังเกตควรจะต้องมีจุดมุ่งหมายในการสังเกตด้วย

๒) วิธีการทดลอง (Experimental Method) หมายถึง การจัดสร้างหรือเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ เพื่อสังเกตผลที่เกิดขึ้นจากการสร้างหรือเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ ซึ่งโดยมากแล้วจะกระทำกันในห้องปฏิบัติการ (Laboratory Experiment) โดยในการทดลองนี้มักจะแบ่งกลุ่มการทดลองออก

๓) วิธีการสำรวจ (Survey) เป็นวิธีการอีกวิธีหนึ่งที่นิยมใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพราะเป็นวิธีการที่ใช้ช่วงเวลาสั้น ๆ ไม่มากนัก แต่ทั้งนี้สิ่งที่ต้องคำนึงนั่นคือ  หากกลุ่มประชากรมีจำนวนที่มากเกินการสำรวจได้อย่างทั่วถึง จะต้องมีวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง Sample Group) จากกลุ่มประชากรเพื่อนำมาเป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมด วิธีการในการสำรวจ อาทิ แบบสอบถาม สัมภาษณ์ เป็นต้น

๔) การทดสอบ (Testing) เป็นอีกวิธีหนึ่งที่นิยมใช้ในการศึกษาทางจิตวิทยา เนื่องจากการทดสอบจะใช้แบบทดสอบมาตรฐาน (Standardized test) ที่นักจิตวิทยาสร้างขึ้นเพื่อวัดหรือประเมินลักษณะทางพฤติกรรม
๕) การสัมภาษณ์ (Interview) เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสนทนาระหว่างบุคคล  เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ละเอียดและลึกมากยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้จะต้องมีการวางแผนล่วงหน้าอย่างดี โดยเฉพาะการสื่อความหมายที่ต้องเน้นให้เหมาะสม  ในการสัมภาษณ์นั้นจะต้องใช้วิธีการสังเกตในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งนี้เพื่อดูพฤติกรรมระหว่างการสัมภาษณ์อีกด้วย

๖) วิธีการทางคลินิก (Clinical Methods)เป็นเทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูลรายบุคคล (Individual Case) ซึ่งจะใช้เฉพาะบุคคลที่มีอาการทางจิตเท่านั้น

๗) การสืบประวัติ (Case History) เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อหาเหตุแห่งพฤติกรรมที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน  โดยการศึกษาถึงประวัติย้อนหลังซึ่งอาจมาจากบันทึก คำบอกเล่าของผู้ถูกศึกษา  ญาติพี่น้อง รวมทั้งบุคคลใกล้ชิด แต่ทั้งนี้ เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในวิธีการนี้ จึงอาจต้องใช้วิธีการอื่น ๆ ประกอบร่วมด้วย

๘) การตรวจสอบจิตตนเอง (Introspection Method) เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลโดยให้มีการสำรวจทบทวนตนเองในช่วงเวลาเกิดปัญหาที่ ผ่านมา แต่ทั้งนี้จะต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ที่ถูกศึกษาอย่างจริงจังด้วย มิฉะนั้นข้อมูลที่ได้อาจเกิดการคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้มาก

๔. การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis and Testing Data)
เมื่อรวบรวมข้อมูลได้มากพอที่จะสนับสนุนสมติฐานแล้ว จึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อทำการทดสอบสมมติฐานดังกล่าว ทั้งนี้การวิเคราะห์ข้อมูลอาจทำได้โดยการหาค่าทางสถิติต่าง ๆ แล้วจึงนำค่าเหล่านั้นมาเปรียบเทียบกับสมมติฐานที่กำหนดไว้ แล้วจึงแปลความจากค่าสถิติดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง

๕. ประเมินผลและสรุป (Conclusion)
หลังจากทำการวิเคราะห์ข้อมูลเสร็จสิ้น ควรมีการสรุปผลเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ

๖. การนำไปใช้ (Applied Finding)
เป็นการนำผลที่ได้จากขั้นตอนที่ 5 ไปใช้อธิบายพฤติกรรมหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโอกาสต่อไป




      พจนานุกรมของเวบสเตอร์  (Webster 's  Third  New International Dictionary) "การเรียนรู้ คือ  กระบวนการเพิ่มพูนและปรุงแต่งระบบความรู้  ทักษะ นิสัย หรือการแสดงออกต่างๆ อันมีผลมาจากสิ่งกระตุ้นอินทรีย์โดยผ่านประสบการณ์ การปฏิบัติ หรือการฝึกฝน"    ประดินันท์  อุปรมัย (๒๕๔๐ชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา(มนุษย์กับการเรียนรู้) : นนทบุรีพิมพ์ครั้งที่ ๑๕,หน้า ๑๒๑) “ การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์  โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเหตุทำให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม  ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหมายถึงทั้งประสบการณ์ทางตรงและประสบการณ์ทางอ้อม


         ประสบการณ์ทางตรง คือ ประสบการณ์ที่บุคคลได้พบหรือสัมผัสด้วยตนเอง  เช่น เด็กเล็กๆ ที่ยังไม่เคยรู้จักหรือเรียนรู้คำว่า “ร้อน” เวลาที่คลานเข้าไปใกล้กาน้ำร้อน แล้วผู้ใหญ่บอกว่าร้อน และห้ามคลานเข้าไปหา  เด็กย่อมไม่เข้าใจและคงคลานเข้าไปหาอยู่อีก จนกว่าจะได้ใช้มือหรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไปสัมผัสกาน้ำร้อน จึงจะรู้ว่ากาน้ำที่ว่าร้อนนั้นเป็นอย่างไร  ต่อไป เมื่อเขาเห็นกาน้ำอีกแล้วผู้ใหญ่บอกว่ากาน้ำนั้นร้อนเขาจะไม่คลานเข้าไปจับกาน้ำนั้น  เพราะเกิดการเรียนรู้คำว่าร้อนที่ผู้ใหญ่บอกแล้ว  เช่นนี้กล่าวได้ว่า ประสบการณ์ตรงมีผลทำให้เกิดการเรียนรู้เพราะมีการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เผชิญกับสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม  ในการมีประสบการณ์ตรงบางอย่างอาจทำให้บุคคลมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แต่ไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ ได้แก่
                
๑.  พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากฤทธิ์ยา หรือสิ่งเสพติดบางอย่าง

๒.  พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความเจ็บป่วยทางกายหรือทางใจ

๓.  พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความเหนื่อยล้าของร่างกาย

๔.  พฤติกรรมที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนต่างๆ


      ประสบการณ์ทางอ้อม คือ ประสบการณ์ที่ผู้เรียนมิได้พบหรือสัมผัสด้วยตนเองโดยตรง  แต่อาจได้รับประสบการณ์ทางอ้อมจาก  การอบรมสั่งสอนหรือการบอกเล่า การอ่านหนังสือต่างๆ และการรับรู้จากสื่อมวลชนต่างๆ
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
                พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของนักการศึกษาซึ่งกำหนดโดย บลูม และคณะ  (Bloom and Others ) มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน    ด้าน    ดังนี้
                ๑.  ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)  คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถทางสมอง ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความจำ ความเข้าใจ  การนำไปใช้  การวิเคราะห์  การสังเคราะห์และประเมินผล
                ๒.  ด้านเจตพิสัย (Affective Domain )  คือ ผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก  ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความรู้สึก ความสนใจ  ทัศนคติ การประเมินค่าและค่านิยม
                ๓.  ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)  คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้านการปฏิบัติ ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท การเคลื่อนไหว  การกระทำ  การปฏิบัติงาน การมีทักษะและความชำนาญ



องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
                ดอลลาร์ด และมิลเลอร์  (Dallard and Miller) เสนอว่าการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ ๔  ประการ คือ
                ๑.  แรงขับ (Drive) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล    เป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของบุคคลทั้งสมอง ระบบประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ  แรงขับและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมที่จะชักนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป
                ๒.  สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ   ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยา  หรือพฤติกรรมตอบสนองออกมา ในสภาพการเรียนการสอน สิ่งเร้าจะหมายถึงครู  กิจกรรมการสอน  และอุปกรณ์การสอนต่างๆ   ที่ครูนำมาใช้
                ๓.  การตอบสนอง (Response) เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า ทั้งส่วนที่สังเกตเห็นได้และส่วนที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้    เช่น การเคลื่อนไหว ท่าทาง  คำพูด การคิด  การรับรู้  ความสนใจ และความรู้สึก  เป็นต้น
                ๔.  การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลเป็นอันมาก